วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ที่ตั้งและเมืองหลวงของประเทศอียิปต์

ที่ตั้งและเมืองหลวงของประเทศอียิปต์
ที่ตั้ง
อียิปต์ตั้งอยู่บนมุมสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา และบริเวณเหนือข้ามคลองสุเอซไปในคาบสมุทรไซนาย มีอาณาเขตติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน


 


เมืองหลวง
ไคโร  เป็นเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ ไคโรมีประชากรประมาณ 15.2 ล้านคน ซึ่งเป็นเมืองที่ประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นแห่งหนึ่งในโลก
ชื่อเมือง "ไคโร" ในภาษาอาหรับมีความหมายว่า ชัยชนะ โดยความเชื่อว่าเกิดจากที่มีการมองเห็นดาวอังคารในช่วงที่ก่อสร้างเมือง และดาวอังคารเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการทำลายล้าง อย่างไรก็ตามในอีกความเชื่อหนึ่ง ชื่อไคโรมาจากที่เมืองไคโรเป็นเมืองที่รบชนะทุกกองทัพที่มาตีเมืองไคโร รวมไปถึง กองทัพมองโกล กองทัพครูเสด หรือแม้แต่กองทัพออตโตมัน




ประชากร

อียิปต์มีจำนวนประมาณ 70 ล้านคน (ปี 2547) อยู่ในเขตเมืองร้อยละ 45 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามบริเวณ 2 ฝั่งและที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ แฮมิติก-แซมิติก 99.8% เบดูอิน และนูเบียน 0.2%

                                                  

                                           

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของประเทศอียิปต์

ประวัติศาสตร์อียิปต์
อียิปต์ ตามความหมายที่เฮโรดอท นักเดินทางชาวกรีกให้ไว้ หมายถึง ของขวัญจากแม่น้ำไนล์ อียิปต์ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ (เรียกว่าดินดำ) อยู่ระหว่างที่ราบสูงที่เป็นทะเลทราย ทางเหนือของทวีปอัฟริกา แม่น้ำไนล์ยาวประมาณ1,000 กม. ต้นแม่น้ำมาจากทะเลสาบในประเทศเอธิโอเปียทางตะวันออก และทางตะวันตกของแม่น้ำไนล์เป็นทะเลทราย (เรียกกันว่าดินแดง) ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินมาจากแม่น้ำไนล์ไหลผ่านภูเขาที่เต็ม ไปด้วยแร่ธาตุจากเอธิโอเปียจนถึงอียิปต์และมาท่วมล้นฝั่ง ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม น้ำนำโคลนตมที่อุดมสมบูรณ์มาให้ประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตศักราช อียิปต์แบ่งเป็นสองราชอาณาจักร คือ อียิปต์สูง (อียิปต์บน) และอียิปต์ต่ำ (อียิปต์ล่าง) ทั้งสองอาณาจักรรวมกันสมัยพระเจ้านาแมร์ (กรีกเรียกเมแนส) และสมัยพระเจ้าอหา มีเมืองหลวงชื่อเมมฟิส (กำแพงขาว)
สมัยจักรวรรดิเก่า (2850 - 2052 ปี ก่อนคริสตศักราช)
 2850-2650 สมัยธินิท (ราชวงศ์ที่1 และ 2) อียิปต์เป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ มีการสู้รบกับพวกเบดวงจากคาบสมุทรซีนาย เพื่อแย่งชิงเหมืองทองแดงมีการติดต่อทางเรือกับเมืองไบโบลส (ในเลบานอนปัจจุบัน) เพื่อซื้อไม้เซดาร์มาใช้ในการก่อสร้างและทำโลงศพของฟาห์โร (กษัตริย์) มีการก่อสร้างหลุมศพสำหรับเจ้าเรียกว่า มาสตาบา
 2650 - 2190 สมัยปิรามิด (ราชวงศ์ที่ 3 - 6) เมมฟิส เป็นศูนย์กลางทางการเมือง พระเจ้าโจเซอร์ทรงมีพระราชโองการให้อิมโฮเทป ผู้เป็นแพทย์และสถาปนิก เป็นผู้สร้างปิรามิดซัคคาราขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝังพระศพ
ของพระองค์ปิรามิดซัคคารา ประกอบด้วยมาสตาบา 6 หลังซ้อนกัน
ราชวงศ์ที่ 4: จำนวนกษัตริย์ผู้สร้างปิรามิดมีมากมาย ที่มีชื่อเสียง เช่น สเนฟรู (ปิรามิดดาห์ชูร์และแมดูม) เคออป, เคเฟรน, ไมเซรินุส (ปิรามิดกิเซ่ ทางตะวันตกของเมืองไคโร)
ราชวงศ์ที่ 5: ศาสนาประจำชาติ คือการนับถือเทพเจ้าเร (เรแห่งเมืองเฮลิโอโปลิส) เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ มีการสร้างวิหารให้เทพเจ้าองค์นี้และสร้างเสาหินสูง
ราชวงศ์ที่ 6: ฟาห์โรอ่อนอำนาจทำให้ขุนนางมีอำนาจมากขึ้น
   2190 - 2052 เป็นระยะเวลาที่ต่อระหว่างสองสมัย(ราชวงศ์ที่ 7 ถึงที่ 10 เรียกสมัยเฮราเคลโอโปลิส)
 
รัฐ ตำแหน่งฟาห์โร (บ้านใหญ่) เป็นตำแหน่งสืบทอดฟาห์โร มีอำนาจสูงสุด เช่น ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชของไทย
เรามักเห็นอยู่ในรูปของเทพเจ้า-เหยี่ยวโฮรุส (เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) นับจากราชวงศ์ที่ 4 เป็นต้นมา ฟาห์โร เปรียบเสมือนบุตรของเทพเจ้าเร หรือเทพเจ้า-พระอาทิตย์

   การบริหารส่วนกลาง ข้าราชการหรือสคริบอยู่ใต้คำบังคับบัญชา
ของรัฐมนตรี ล้วนมาจากครอบครัวชนชั้นสูง ภาษีจ่ายเป็นข้าวสาลีและ
สัตว์ใช้งาน เช่น วัว ประชาชนทุกคนมีสิทธิในศาล มีสัมพันธไมตรีกับประเทศซีเรียและพุนท์
(โซมาเลีย) ทำสงครามกับประเทศลิเบียและชนเผ่าต่างๆในดินแดนปาเลสไตน์

   การศาสนา เริ่มแรกนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์มากมาย ซึ่งมีอยู่ในรูปร่าง
และหัวสัตว์ สมัยประวัติศาสตร์ คนนับถือพระอาทิตย์มาก มีการสร้าง
วิหารที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วิหารของเทพเจ้าอาตอน-เรที่เฮลิโอโปลิส วิหารของเทพเจ้าพทาห์ที่เมมฟิส วิหารของเทพเจ้าโธทที่เฮอร์โมโปลิส
เทพเจ้าโอซิริสที่เคยเป็นเทพเจ้าแห่งพืชพันธุ์ไม้ กลายมาเป็นเทพเจ้า
ของคนตาย คนอียิปต์เชื่อเรื่องเวรกรรม คนตายไปแล้วจะได้รับกรรมที่ทำไว้ และเชื่อเรื่องชาติหน้า

   อักษรเฮียโรกลีฟ มีลักษณะเป็นรูปสัญลักษณ์หนึ่งเท่ากับคำหนึ่ง
จากนั้นเป็นกลุ่มพยัญชนะ พยัญชนะโดดๆ ไม่มีสระ ใช้ในทางศาสนา
ต่อจากอักษรเฮียราติค (ภาษาที่ใช้ทั่วไป)เป็น อักษรเดโมติค
(ราว 700 ปีก่อนค.ศ.) เป็นภาษาประจำวัน ปฏิทินอียิปต์มี 365 วัน (12 x 30 + 5) วันแรกของปีเริ่มกลางเดือนกรกฎาคม
ตรงกับที่แม่น้ำไนล์ล้นฝั่ง ปีที่มี 366 วันไม่มีปรากฎใช้ สมัยต่อมา
การนับปีถือเอาเทพเจ้าซิริอุส (โซธิส) เป็นหลัก คือ หนึ่งปีโซธิสมี 365 วันและอีกเศษหนึ่งส่วนสี่

   จักรวรรดิ์กลาง (ประมาณ 2052 - 1570 ปี ก่อนคริสตศักราช) หลังจากที่อียิปต์ผ่านสงครามภายในมาหลายปี พระเจ้าเมนทูโฮเทปที่ 2 ทรงรวม อียิปตสูงและอียิปต์ต่ำเข้าด้วยกัน และทรงย้ายเมืองหลวงจากเมมฟิสไปที่ธีบส์
   1991 - 1786 ตรงกับราชวงศ์ที่ 12 อำนาจการปกครองมารวมอยู่ที่เมืองหลวงอีก เชื้อพระวงศ์ตามเมืองต่างๆหมดอำนาจ มีการก่อสร้างวัดขนาดใหญ่หลายหลังที่คาร์นัค เมืองที่ถือว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้าองค์ใหม่ ชื่ออาโมส อียิปต์เจริญสูงสุดในสมัยของ

   พระเจ้าเสโซสทริสที่ 3 (1878-1841 ปี ก่อนคริสตศักราช) อียิปต์มีอิทธิพลถึงนูเบีย (ซูดาน) ทางตอนกลางเพราะที่นี่มีเหมืองทองคำ มีการสร้างทางติดต่อการค้าไปทะเลแดง ซีนาย และพุนท์ (โซมาเลีย) เกาะครีตและเมืองโบลส (ในเลบานอน) รัชกาลพระเจ้าอัมเมเนแมสที่ 3 จัดการใช้พื้นที่แถวทะเลสาบมัวริส (ฟายุม) ให้เป็นประโยชน์ สร้างปิรามิดและวัดฮา อูอาราสำหรับคนตาย (Labyrinthe) งานประติมากรรมมีการทำรูปพระเจ้าเสโซสทริสที่ 3 และพระเจ้าเมเนแมสที่ 3 ตอนวัยชรา การทำรูปสฟิงซ์มีหน้าเป็นกษัตริย์ กำเนิดประติมากรรมแบบใหม่ คือ รูปคนท่ายกเข่า สวมเสื้อผ้ายาวจดเท้า ด้านวรรณคดีมีการแต่ง "คำสอนของพระเจ้าอัมเมเนแมสที่ 1" และ "ประวัติศาสตร์ซินูเฮ"
   1778 - ประมาณ 1610 ปี ก่อนคริสตศักราช เป็นช่วงคั่นระหว่างสองสมัย (ราชวงศ์ที่ 13-14) สงครามภายในทำให้มีศัตรูจากภายนอกรุกราน การรุกรานของพวกฮิกโซส ประมาณ 1650 ปี ก่อนคริสตศักราช พวกฮิกโซส มาจากชนเผ่าฮูไรท์และเซมิติก (ทางเอเซีย) การรุกรานเป็นผลมาจากการอพยพของพวกอินโด-ยุโรเปี้ยน ราวปี 2,000 ก่อนคริสตศักราช พวกฮิกโซสมีอำนาจเหนือดินแดนอียิปต์ตอนบน
พวกเขาเป็นคนชั้นสูงและถิ่นที่เขาอยู่ที่อาวาริส (ทางเดลต้าตะวันออก) ถือว่าเจริญมากของอียิปต์ เนื่องจากเทคนิคอารยธรรมที่เหนือว่าตนเข้าไว้ด้วย

   จักรวรรดิใหม่ (1570 - 715 ปี ก่อนคริสตศักราช) พระเจ้าอโมซิสทรงขับไล่พวกฮิกโซสออกจากอาวาริสไปจนถึงดินแดนปาเลสไตน์แล้ว
ทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ (ราชวงศ์ที่ 18) กษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อมา เช่น พระเจ้า
อาเมโนฟิสที่ 1 และ ธุทโมซิสที่ 1 ทรงทำให้อียิปต์มีอำนาจมากมีการยกทัพไปเอเซีย
(แถวแม่น้ำยูเฟรติส) และนูเบีย สมัยที่อียิปต์เจริญสูงสุดคือสมัยพระนางฮัทเชบสุท

   พระนางฮัทเชปสุท (1501-1480) ทรงดำเนินนโยบายแบบสันติ สัมพันธไมตรีกับประเทศพุนท์ มีการก่อสร้างมากมายที่สำคัญ คือวัดที่แดร์ เอล-บาห์รี ที่ก่อสร้างภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีคนโปรดของพระนาง ชื่อ เซอเนนมุท เมื่อพระนางสิ้นพระชนม์ พระสวามีขึ้นครองราชต่อ

  
 1480-1488 พระเจ้าธุทโมซิสที่ 3 เป็นระยะเวลาที่ประเทศอียิปต์มีอาณาเขตกว้างไกลถึงแม่น้ำยูเฟรติส (ในอิรัก)

   1480 พระองค์ทรงรบชนะซีเรีย ปาเลสไตน์และเฟนีเซีย ด้วยกองทัพทหารรับจ้างและกองทัพรถม้า อาณาจักรมิตานี (ปัจจุบัน คือ อิรักตอนเหนือ) กลายมาเป็นประเทศเพื่อนบ้าน กษัตริย์องค์ต่อๆมาล้วนประสบความสำเร็จในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศทั้งสิ้น

   1413-1377 อาเมโนฟิสที่ 3 มีมเหสีมาจากบุคคลธรรมดาถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองมาก
ทรงมีนโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศด้วยการอภิเษกสมรส เป็นสมัยที่อียิปต์
ต้อนรับทูตจากต่างประเทศมาก และมีการค้าขายอย่างเป็นล่ำเป็นสัน กับอาณาจักรมิตานี บาบิโลเนีย ครีต อัสซีเรีย อาณาจักรฮิตไทท์ และหมู่เกาะในทะเลเอเจียน (แผ่นดินเหนียวที่พบที่เมืองอามาร์นา จารึกเป็นภาษาอัคคาเดียน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในทางการทูตสมัยนั้น)

   1377-1358 อาเมโนฟิสที่ 4 ทรงมีมเหสีที่รู้จักกันดี คือ พระนางเนเฟอร์ติติ กษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นผู้นำการนับถืออาตอน หรือ การนับถือดวงอาทิตย์เป็นพระเจ้าองค์เดียวให้แก่อียิปต์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อาเคท-อาตอน (เอล-อามาร์นา) ทรงเปลี่ยนพระนามของพระองค์ใหม่เป็น อาเคนาตอน พระองค์ไม่สนพระทัยในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ดังนั้นประเทศอียิปต์จึงค่อยๆ สูญเสียดินแดนในเอเซีย เมื่อทรงสิ้นพระชนม์ชนชั้น นักบวชถือโอกาสนำประเทศกลับมาใช้ระบบเดิม พระราชบุตรเขย
ทั้งหลายพร้อมใจกันย้ายเมืองหลวงกลับมาอยู่ที่ธีบส์ตามเดิม หนึ่งในราชบุตรเขย
มีตุตอนคามอน ที่นักโบราณคดีพบหลุมฝังศพเต็มไปด้วยของมีค่าเมื่อ
ค.ศ.1922 โฮเรมเฮบ นายทหารของอาเคนาตอนขึ้นครองราชย์ ทำสงคราม
ชนะพวกฮิทไทท์ในซีเรียและจัดระเบียบการปกครองใหม่ให้เข้มงวดกว่าเดิม ทรงทะนุบำรุงศาสนานำพิธีนับถือพระเจ้าแบบเก่ามาใช้ปนกับวิธีของเอล-อามาร์นา
   1345 - 1200 ราชวงศ์ที่19 พระเจ้าเซติที่ 1 และพระเจ้ารามเสสที่ 2 ทรงชนะพวกฮิทไทท์และมีอำนาจเหนือซีเรียอีกประมาณ 1275 ปี ก่อนคริสตศักราช เกิดสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างพระเจ้ารามเสสที่ 2 กับฮาทตูซิลที่ 3 กษัตริย์ของพวกฮิทไทท์ ซีเรียสามารถอยู่อย่างสงบ
อียิปต์ตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เดลต้า ชื่อ อาวาริส แปลว่าเมืองของรามเสส

 
  1234 - ประมาณ 1220 พระเจ้าเมเนปทาห์ยกกองทัพไปทำสงคราม
กับปาเลสไตน์ (ปรากฎชื่ออิสราเอลเป็นครั้งแรกในจารึก) และได้ต่อสู้กับชนชาวทะเล
(มีพวกกรีกและฟีลิสติน แถวกาซาปัจจุบัน) แต่มีสัมพันธไมตรีกับลิเบีย

   1197-1165 พระเจ้ารามเสสที่ 3 ทรงต่อสู้กับชนชาวทะเลและลิเบียที่มารุกราน
แต่ถูกพระองค์ทรงขับไล่ออกไปทรงสร้างคุกไว้ที่เดลต้า กษัตริย์ต่อจากพระองค์ทรงให้วัดเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ

   ศิลปกรรม มีการสร้างวัดขนาดใหญ่ เช่น วัดพระเจ้าอามอนที่คาร์นัค ลุกซอร์ เมดิเนท์-ฮาบู ศิลปกรรมที่เมืองอามาร์นา (เศียรของอาเคนาตอนและเนเฟอร์ติติ รูปประติมากรรมของครอบครัว) ในรัชกาลของพระเจ้ารามเสส นิยมสร้างห้องขนาดใหญ่ที่คาร์นัค สร้างวัดที่เจาะเข้าไปในหิน ผนังเต็มไปด้วยภาพวาดแบบที่อาบู ซิมเบล ภายนอกมีรูปสลักขนาดมหึมา
และนิยมสร้างวัดสำหรับเป็นที่ไว้ศพอย่างเช่นที่เมดิเนท์-ฮาบูหลังจากที่สู้รบกับพวกพระอามอน
ที่ธีบส์และกับนายทหารจ้างของลิเบียแล้ว

   950 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้าเชช องค์ที่ 1 นายทหารจ้างลิเบียขยายอาณาเขตออกไปรอบๆบูบาสติส พวกพระส่วนหนึ่งจึงอพยพไปอยู่นูเบีย ที่ซึ่งพระองค์ต่อๆมา สร้างรัฐที่ปกครองโดยพระขึ้นมา มีเมืองนาปาตาเป็นเมืองหลวง (ราว 750 ปี ก่อนคริสตศักราช) ประมาณ 920 ปี ก่อนคริสตศักราช กองทัพของพระเจ้าเชชองค์ที่ 1 ยกทัพไปตีปาเลสไตน์และทำลายเมืองเยรูซาเล็ม

   สมัยอียิปต์ต่ำ (715-332 ปีก่อนค.ศ.)715-663 เอธิโอเปียมีอำนาจเหนืออียิปต์ แต่ไม่นานก็ถูกอัสซีเรีย
รุกรานจนสูญเสียอำนาจนี้ไป พระเจ้าอัสซาราดดอนยกทัพมาถึงเมือง
ธีบส์ปี 671 ก่อนค.ศ. แต่พวกเอธิโอเปียขับไล่ออกไปได้

662 พระเจ้าอัสสูร์บานิปาลได้รับชัยชนะเหนืออียิปต์ อียิปต์กลายเป็นเมืองหนึ่งของอัสซีเรีย ผู้ครองโนม (จังหวัด) เป็นเสมือนเจ้าครองเมืองของอัสซีเรียหนึ่ง ในจำนวนนี้มี พระเจ้าพซามเมติกที่ 1 (663-609) เป็นผู้ปลดปล่อยอียิปต์ให้เป็นอิสระ และให้พวกพระอามอนเป็นทหารจ้างลิเบียก่อตั้งหน่วย
ทหารจ้างไอโอเนียน
ที่เดลต้าและตั้งสถานีการค้าไอโอเนียน (โนเครติส)

569-525 พระเจ้าอามาซิส
เป็นรัชกาลที่อียิปต์รุ่งเรืองขึ้นอีกเป็นครั้งสุดท้ายเพราะ
สามารถควบคุมสถานการณ์ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกได้และมีสัมพันธไมตรี
กับเกาะต่างๆ ของกรีกและแม้แต่อาณานิคมกรีก อียิปต์ผูกไมตรีกับพระเจ้าเครซุสแห่งลิเดีย
และกับพระเจ้าโปลีคราทแห่งซาโมสเพื่อต่อสู้กับพวกเปอร์เซีย

525 พระเจ้าพซามเมติกที่ 3 พระโอรสของพระองค์ถูกพระเจ้าคอมบิสแห่งเปอร์เซีย
ฆ่าตายในการรบที่เปลุส อียิปต์กลายเป็นเมืองหนึ่งของเปอร์เซีย

332 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชชนะต่ออียิปต์
ตั้งแต่ปี 304 ก่อนคริสตศักราชเป็นต้นมา เหล่ากษัตริย์ปโตเลมีของกรีกเฮเลนิสติกมาครองอียิปต์ 30 ปี ก่อนคริสตศักราชโรมันมาครองอียิปต์
                

                                           

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศอียิปต์

ชื่ออย่างเป็นทางการ
สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์

เมืองหลวง 
กรุงไคโร (CAIRO)

ที่ตั้ง
อียิปต์ตั้งอยู่บนสุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาและในคาบสมุทรไซนาย
ทิศเหนือ ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและประเทศอิสราเอล  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ติดกับติดทะเลแดงและประเทศอิสราเอล  ทิศตะวันออก ติดกับทะเลแดง   ทิศใต้ ติดกับประเทศซูดาน   ทิศตะวันตก  ติดกับประเทศลิเบีย

พื้นที่
ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรซีนาย (ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ

 สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นทะเลทรายและภูเขา โดยมีแม่น้ำไนล์ซึ่งไหลมาจากภาคใต้ ของประเทศลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคเหนือ และก่อให้เกิดที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นแหล่เกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของอียิปต์

สภาพภูมิอากาศ
อียิปต์มีภูมิอากาศ ร้อน แห้ง และอากาศหนาวระดับปานกลาง แบ่งเป็น 4 ฤดู ดังนี้ คือ
ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม)        อุณหภูมิ 15-32 ํ C
ฤดูร้อน  (มิถุนายน -สิงหาคม)               อุณหภูมิ 21-43 ํC
ฤดูใบไม่ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน)     อุณหภูมิ 19-34 ํC
ฤดูหนาว  (ธันวาคม-กุมภาพันธ์)           อุณหภูมิ   8-20 ํC  

ทรัพยากรธรรมชาติ 
ปิโตรเลียมก๊าซธรรมชาติ, แร่เหล็ก, ฟอสเฟต, แมงกานีส, หินปูน, ยิปซั่ม, แป้ง, ใยหิน, ตะกั่ว, ธาตุหายากสังกะสี   

ภัยธรรมชาติ 
มีอากาศร้อน  ฝนตกไม่ทั่วถึงในบางพื้นที่  ทำให้เกิดความแห้งแล้ง

เชื้อชาติ  
ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ Fallaheen(ฟาราฮี), Beduin(เบดูอิน) และ Nubian(นูบิน)

ศาสนา           
ประมาณร้อยละ 94 นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ (Sunni) อีกร้อยละ 4 นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอค 

ภาษา
ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ  ภาษาต่างประเทศที่ใช้คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส 

การปกครอง
รัฐสภาอียิปต์มี 2 สภา คือ
- สภาประชาชน มีสมาชิก 454 คน มาจากการเลือกตั้ง 444 คน และประธานาธิบดีแต่งตั้ง10 คน มีวาระ 5 ปี
- สภาที่ปรึกษา มีสมาชิก 285 คน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งจากบุคคลสาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 2ใน 3 (190 คน) อีก 95 คน ประชาชนเป็นผู้เลือก มีวาระ 3 ปี     
อียิปต์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 เขตปกครอง (Governorate) โดยประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการเขตปกครอง (Governor) ซึ่งเป็นผู้นำในรัฐบาลท้องถิ่น แต่ละเขตปกครองจะแบ่ง เป็นเมือง (cities) และหมู่บ้าน (villages) โดยมีสภาท้องถิ่นควบคุมดูแลการบริหารงานของรัฐบาล ท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นจะต้องประกอบด้วยกรรมกรและเกษตรกรอย่างน้อยครึ่งหนึ่งและผ่าน การเลือกตั้งจากราษฎรในเขตปกครองนั้นโดยตรง
 
ข้อมูลอื่นๆ 
 ดอกบัวอียิปต์ Egyptian Water Lily หรือ Nymphaea เป็นดอกไม้ประจำชาติของอียิปต์ และมีสัตว์ประจำชาติคือนกอินทรีสเตป



  
ตราสัญลักษณ์(coat of Arms)




ธงประจำชาติ





 



       

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศอียิปต์(ตอนที่1)


ไปเที่ยวอียิปต์กันไหม ??


มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) คือ รูปสฟิงซ์แกะสลักด้วยหินขนาดใหญ่ที่สุด ใน ประเทศอียิปต์ มีตัวเป็น สิงโต และมีหัวเป็น มนุษย์ อยู่ในบริเวณหมู่พีระมิดทั้ง 3 แห่งกิซ่า หมอบเฝ้าอยู่ใกล้กับ พีระมิดคาเฟร โดยหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก   สฟิงซ์คือชื่อ สัตว์ประหลาด ในตำนานไอยคุปต์วิทยา และมีในตำนานชนชาติอื่นด้วย มีลักษณะต่างกันไป แต่จะมีตัวเป็นสิงโตเหมือนกัน สฟิงซ์ในตำนานกรีก มีใบหน้าและช่วงอก เป็นหญิงสาว มีปีกแบบนกอินทรีย์ และสามารถพูดภาษามนุษย์ได้ สฟิงซ์จะคอยถามคำถาม กับมนุษย์ที่หลงมาพบมันเข้า หากตอบคำถามไม่ได้ มนุษย์ผู้เคราะห์ร้ายนั้นก็จะถูกสังหาร ส่วนสฟิงซ์ของอียิปต์โบราณ ไม่มีปีกมีหน้าเป็นมนุษย์ผู้ชาย และยังมีแบบที่หัวเป็นแกะ (Criosphinx) และหัวเป็นนกเหยี่ยว (Hierocosphinx) อีกด้วย



หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex)พีระมิด (Pyramid) ใน ประเทศอียิปต์ มีมากมายหลายแห่งด้วยกัน แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดจนอาจนับเป็นตัวแทนของพีระมิดอียิปต์ทั้งมวล ได้แก่ หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex)ซึ่งประกอบไปด้วย

พีระมิดคูฟู (Khufu) หรือ มหาพีระมิดแห่งกิซ่า (The Great Pyramid of Giza) หนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า

พีระมิดคาเฟร (Khafre) ตั้งอยู่ตรงกลางของพีระมิดทั้ง 3 และสร้างอยู่บนพื้นที่สูง ทำให้ดูเหมือนมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีบางคนเข้าใจผิดว่าพีระมิดคาเฟรคือมหาพีระมิดแห่งกิซ่า ทางทิศตะวันออกของพีระมิดคาเฟรมี มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) หินแกะสลักขนาดมหึมาที่มักปรากฏในภาพถ่ายคู่กับพีระมิดคาเฟร

พีระมิดเมนคูเร (Menkaure) ขนาดเล็กที่สุดและเก่าแก่น้อยที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า จากตำแหน่งการก่อสร้างทำให้คาดได้ว่า เดิมอาจตั้งใจสร้างให้มีขนาดใกล้เคียงพีระมิดคูฟู และพีระมิดคาเฟรแต่ในที่สุดก็สร้างในขนาดที่เล็กกว่า พีระมิดเมนคูเรมักปรากฏในภาพถ่ายพร้อมกับหมู่พีระมิดราชินีทั้ง 3 (The Three Queen's Pyramids)
พีระมิดทั้งสามสร้างเรียงต่อกันเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของกรุงไคโร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ในปัจจุบัน ด้วยโครงสร้างใหญ่โตและลักษณะรูปทรงเรขาคณิตเฉพาะตัว ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้จากระยะไกล ทั้งนี้แม้แต่จากภาพถ่ายดาวเทียม
 

หุบผากษัตริย์ สถานสถิตชั่วนิรันดร์แห่งวิญญาณฟาโรห์   ยุคอียิปต์เก่าซึ่งย้อนไปได้ถึงราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล อาจกล่าวได้ว่าเป็นวันเวลาของปิรามิดขนาดมหึมาที่ตั้งตระหง่านทอดเงาบนที่ ราบสูงแห่งกิซา โดยมีหมู่สุสานของเชื้อพระวงศ์และขุนนางคนสำคัญอยู่แทบเบื้องบาทของมันดั่ง จะประกาศอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์แห่งฟาโรห์ ผู้ปกครองอันสืบสายเลือดมาจากทวยเทพ
หุบผากษัตริย์ (Valley of the King) ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำไนล์ โดยหุบเขานี้เป็นสุสานของฟาร์โรห์ตั้งแต่ สมัย Tuhtmose หลบซ่อนอยู่ในเทือกเขา Theban มีทั้งบรรพกษัตริย์ เหล่าราชวงศ์และขุนนางทั้งหลาย ถือเป็นโบราณสถานที่ สำคัญแห่งหนึ่งของอียิปต์ที่มีการ ขุดค้นทางโบราณคดีเกือบศตวรรษ ปัจจุบัน สุสานนี้มี อายุกว่า 3,000 ปี การตกแต่งภายใน วิหารเต็มไปด้วยภาพจิตรกรรมที่งดงาม และสีของภาพยังคงดูสดใส มีชีวิตชีวาอยู่ ณ ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีสุสานของฟาโรห์ตุตันคาแมน ซึ่งสมบัติ ทั้งหมดที่ค้นพบ ถูกแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ไคโร และสุสานของ พระนางฮัตเซบสุด ฟาร์โรห์หญิงองค์เดียวของอียิปต์ หรือราชินีหนวด อนุสรณ์แห่งนี้สร้างขนาน ไปกับเทือกเขา และระหว่าง ทางก็จะมีรูปสลักหินลอยตัวขนาดใหญ่ของพระเจ้าอเมนโนฟิสที่ 3 ซึ่งได้ ตำนานเล่าเรื่องประหลาดของรูปสลักหินนี้ไปไกล ถึงกรีซ
  

สุเหร่าแห่งโมฮัมหมัด อาลี (The Mohammad Ali Mosque) สุเหร่าที่ใหญ่และสูงที่สุดในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขา เป็นสถานที่ชาวอียิปต์ให้ความเคารพนับถือ  และสักการะตลอดเวลา  สุเหร่าแห่งโมฮัมหมัด อาลี (The Mohammad Ali Mosque) เป็นสุเหร่าที่สร้างจาก หินอลาบาสเตอร์ (Alabaster) โดยสร้างตามแบบจาก Blue Mosque ในเมืองอิลตันบูล ประเทศตุรกี    สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1830 และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1848 เป็นสัญลักษณ์ของกรุงไคโร ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวสุเหร่า และ ส่วนของสนาม บริเวณตรงกลางน้ำพุ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวกรีก ต้องการให้มีรูปแบบเหมือน Blue Mosque ที่อิสตันบูล ตรงกลางเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีโดมขนาดใหญ่สูง 52 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 21 เมตร มีโดมขนาดเล็กรองรับอีก 4 มุม ตัวอาคารสร้างด้วย หินอลาบาสเตอร์ (Alabaster) ตกแต่งด้วยโคมไฟระย้างดงาม ตามแบบศิลปะอิสลาม
The Mohammad Ali Mosque


สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศอียิปต์(ตอนที่2)

ไปอียิปต์.......ถึงไหนถึงกัน
สิวา โอเอซิส (Siwa Oasis)เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อของประเทศอียิปต์ โดยโอเอซิสแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของทะเลทรายลิเบีย(Libyan Desert) ภายในโอเอซิสนั้นเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มน้อยชาวเบอร์เบอร์    ภายในโอเอซิสจะมีอาคารบ้านเรือนที่สร้างด้วยอิฐโคลน สร้างเรียงรายกันมากมาย บริเวณรอบๆโอเอซิสคุณจะพบกับต้นปาล์มและมะกอกที่ปลูกขึ้นรายล้อมโอเอซิสไป อย่างกว้างขวาง ซึ่งพืชเหล่านี้ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของที่นี่อีกด้วย 


พีระมิดโจเซอร์ (Djoser's Pyramid) หรือ พีระมิดแห่งซักการา (The Pyramid of Saqqara) นับเป็นพีระมิดแห่งแรกของอียิปต์ ที่ฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser หรือ Zoser) แห่งราชวงศ์ที่ 3 เป็นผู้สร้างขึ้น โดยมี อิมโฮเทป (Imhotep) ที่ปรึกษาประจำองค์ฟาโรห์เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ ลักษณะที่สำคัญคือเป็น พีระมิดขั้นบันได (Step Pyramid) ซ้อนกันรวม 6 ชั้น เปรียบเสมือนบันไดไปสู่สวรรค์ ส่วนพีระมิดรุ่นหลังที่เป็นแบบมหาพีระมิดที่แต่ละด้านของพีระมิดลาดเอียงลง ประมาณ 51 องศามีความชันน้อยกว่าและไม่เป็นขั้นบันได ก็ถือว่าเป็นการลาดของลำแสงดวงอาทิตย์เช่นกัน ในขณะที่พีระมิดยุคต่อมาจะไม่มีลักษณะของขั้นบันไดให้เห็น ก่อนหน้านี้สุสานของฟาโรห์จะสร้างอยู่ใต้ดินโดยปิดทับด้วยสิ่งก่อสร้างที่ ไม่สูงมากนักเรียกว่า มัสตาบา (Mastaba)


พิพิธภัณฑ์ ของกรุงไคโร Museum of Cairo พิพิธภัณฑ์ ของกรุงไคโร นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ของโลกที่เก่าแก่ที่สุดมานานและมีชื่อเสียง เนื่องจากเป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุโบราณที่ถูกค้นพบจากที่ต่างๆ จากหลายยุคสมัย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยท่านเมเรียต ออกัสท์ นักเชี่ยวชาญวัตถุโบราณ ชาวฝรั่งเศษ เริ่มเปิดขึ้นวันที่ 15 เดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ 1902จาก ประวัติศาสตร์อียิปต์ได้กล่าวว่า ในสมัยปี ค.ศ 1826 ได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ชั่ว คราว ณ ริมฝั่งสระเอซเบก แต่กษัตริย์สมัยนั้นกลับ ไม่เห็นความสำคัญ นำวัตถุโบราณ มอบเป็นของกำนัลแก่นักบริหาร และข้าราชการชั้นสูงชาวยุโรป ทำให้วัตถุโบราณเหลือ น้อยลงมาก โดยเฉพาะในปีค.ศ. 1855 จักรพรรดิมิกส์มิเลียนชาวออสเตรีย ได้นำวัตถุ โบราณจากอียิปต์เป็นของกำนัลกลับประเทศ จากท่านเคเดวีย์อับบาสบาชา เมื่อครั้นมา เยือนอียิปต์ ทำให้ชาวอียิปต์ต่างเศร้าสลดใจอย่างมาก และปัจจุบัน วัตถุเหล่านั้นก็ยังอยู่ ณ กรุงเวียนนา เมืองหลวงของออสเตรีย


มหาวิหารคาร์นัค (Great Temple of Karnak) เป็นมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดและสวยงามที่สุดของอียิปต์ เรื่องราวและร่องรอยแห่งอารยธรรมที่แท้จริงของอียิปต์โบราณทั้งทางด้านศิลปะ และวัฒธรรมของคนในยุคนั้นได้บ่งบอกไว้ในซากปรักหักพังของมหาวิหารคาร์นัคอัน ยิ่งใหญ่และกว้างใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้
มหาวิหารคาร์นัคอยู่ห่างจากศูนย์กลางตัวเมืองคือ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวิหารลักซอร์ประมาณ 2.6 กิโลเมตร สร้าง ขึ้นเพื่อถวายแด่เทพเจ้าอะมอนราเช่นเดียวกันกับวิหารลักซอร์ และเพื่อเป็นสถานที่จัดพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อของอียิปต์โบราณ ดังนั้นวิหารทั้งสองจึงมีความเกี่ยวพันกันเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา ในอดีตจึงมีเส้นทางถนนเชื่อมต่อถึงกันและสองข้างทางเข้าสู่กำแพงชั้นที่ 1 จะถูกประดับด้วยตัวสฟิงซ์ (Sphinx) นั่งหมอบเรียงรายตลอดความยาว 2.6 กิโลเมตรอย่างอลังการ 


วิหารลักซอร์ ( Luxor Temple )วิหารลักซอว์ตั้งอยู่ทางใต้ของวิหารคาร์นัคไป 3 กม. สร้างโดยฟาโรห์อเมโนฟิสที่ 3 พระองค์ทรงสร้างวิหารแห่งนี้พร้อมกับการบูรณะต่อเติมวิหารคาร์นัคไปด้วย หากนับวิหารถึงปัจจุบันจะมีอายุรวม 3,400 ปี วิหารได้รับการปฏิสังขรณ์สานต่อจากฟาโรห์องค์ต่อมาหลายพระองค์ แต่ที่เด่นที่สุดจนวิหารแห่งนี้ดูสมบูรณ์แบบสวยงามนั้นเป็นฝีมือของฟาโรห์ รามเสสที่ 2 ที่นี่เปรียบเหมือนบ้านหลังที่สองเพื่อการพักผ่อนของเทพอะมอนราและครอบครัว คือเทวีมัตและเทพคอนส์หรือคอนชู

เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลก

ผลกระทบของการปฏิวัติประชาธิปไตยอียิปต์ต่อเศรษฐกิจโลก
เมื่อวันที่28 มกราคม พ.ศ. 2554ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในด้านการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลอย่างมากมายมหาศาลต่อภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกตะวันตก เหตุการณ์ดังกล่าวคือการก่อการจลาจลหรืออาจเรียกว่าเป็นการปฏิวัติประชาชน อียิปต์ซึ่งลุกขึ้นมาต่อต้านเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายใต้ ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัคอันเป็นเผด็จการติดต่อกันมากว่า 30 ปี ต่อเหตุการณ์ดังกล่าวแม้จะยังไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในขณะนี้แต่พอจะ วิเคราะห์ได้ในอนาคตก็คือ

ประการแรก ในกรณีที่ประธานาธิบดีมูบารัคมีการใช้กำลังเผชิญหน้ากับประชาชน ต่อให้มีชัยชนะรัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดีมูบารัคก็คงไม่สามารถปกครองประเทศ ได้ต่อไปเพราะแรงต่อต้านจะขยายไปทุกจุด รัฐบาลไม่สามารถใช้อาวุธปิดกั้นการแสดงออกได้ตลอดไป เศรษฐกิจในสถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มย่ำแย่ลงนั่นหมายถึงอียิปต์จะกลายเป็น รัฐล้มเหลว (Failed State) เหมือนในกรณีอิรัก หรืออัฟกานิสถาน

ประการที่สอง มีความเป็นไปได้สูงที่ประธานาธิบดีมูบารัคต้องยอมถอยฉากลงจากตำแหน่งในเวลา อันสั้นเนื่องจากแรงกดดันจากประชาชนทั่วประเทศขยายวงมากขึ้น ในกรณีดังกล่าวจะทำให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐ ธรรมนูญและเลือกตั้งทั่วไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งรัฐบาลที่เกิดขึ้นในภาวะดังกล่าวจะต้องเป็นรัฐบาลที่มีความเป็นมิตรและ ผูกพันกับสหรัฐอเมริกาลดลงอันเป็นผลมาจากกระแสประชาชนและถ้าเกิดรัฐบาลที่ หัวรุนแรงได้รับชัยชนะโดยเฉพาะจากกลุ่มภราดรอิสลาม (Islam Brotherhood) ที่เป็นกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์กับอิสราเอล ในกรณีดังกล่าวอียิปต์ก็จะมีลักษณะไม่ต่างจากอิหร่านและจะเป็นหอกข้างแคร่ ต่อสหรัฐอเมริกา อิสราเอลและสหภาพยุโรป นอกจากนั้นไม่ว่ารัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาเป็นอย่างไรหากมีการยกเลิกสนธิสัญญา สันติภาพระหว่างอิสราเอลและอียิปต์ 1978 ที่ทำให้อดีตประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัตถูกฆ่าตาย ในภาพฉายดังกล่าวความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่มีต่อความมั่นคงของอิสราเอล จะส่งผลกระทบและจะกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการ เมืองต่อสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอาจกระทบต่อทั้งจีน รัสเซีย และประเทศอื่น ๆ  ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงและอิสราเอลซึ่ง มีนัยยะต่อความอยู่รอดในฐานะรัฐชาติของอิสราเอลอาจจะเป็นต้นเหตุในกรณีกดดัน ให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้ามาช่วยเหลืออันอาจนำไปสู่การเกิดสงครามจำกัดขอบเขต ได้ในอนาคต ยิ่งกว่านั้นตะวันออกกลางยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทร แอตแลนติกและอินเดีย ระหว่างทะเลแดงและเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งเกี่ยวกับการขนส่งโดยเฉพาะท่อน้ำมัน อียิปต์ถือเป็นประเทศสำคัญและพันธมิตรสำคัญต่อสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก นอกจากซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากอียิปต์มีประชากรกว่า 80 ล้านคน ลองวาดภาพดูว่าในกรณีบุกอิรักถ้าไม่มีอียิปต์สหรัฐอเมริกาจะอยู่ในฐานะที่ทำ ได้ลำบากมากการเปลี่ยนแปลงในอิยิปต์ทางการเมืองมีนัยต่อเสถียรภาพความมั่นคง ของโลกตะวันตก

ประการที่สาม เหตุการณ์ในอียิปต์นั้นยังเป็นเชื้อที่แผ่ไปสู่ประเทศอื่น ๆ ความจริงนั้นเหตุการณ์ในอิยิปต์ก็ได้รับเชื้อจากตูนีเซีย หลังจากอียิปต์ก็แผ่ไปสู่ประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง เยเมน จอร์แดน ซีเรีย และอีกหลายประเทศซึ่งตกเป็นเป้าของการจับตามองไม่ว่าจะเป็นบาเรน ลิเบีย กลุ่มประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก ที่เป็นตัวช่วยถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มประเทศอิสลามหัวรุนแรงและมีส่วนช่วยต้าน การก่อการร้าย เชื้อการแผ่ขยายของการเรียกร้องของประชาชนมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก เย็นนักถ้าคำนึงว่าประเทศเหล่านี้มีองค์ประกอบของปัญหาหลายประการดังเช่น การกระจายรายได้ ความเป็นเผด็จการ การละเมิดสิทธิมนุษยชน และประกอบกับหนุ่มสาวอายุในวัย 30 ปีมีส่วนถึงร้อยละ 30 คนเหล่านี้ต้องการมีส่วนร่วมและเสรีภาพมากขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอิยิปต์จึงมีส่วนส่งผลกระทบในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวซึ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของตะวันออกกลาง

สิ่ง ที่เกิดขึ้นในอียิปต์พอสรุปได้ก็คือผลกระทบระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวต่อภูมิรัฐศาสตร์ของโลกและตะวันออกกลาง แต่ผลกระทบในทางเศรษฐกิจนั้นยังจำกัดอยู่มากในระยะสั้นยกเว้นจะมีผลกระทบทาง จิตวิทยาอยู่บ้าง หรือยกเว้นกระทบต่อท่อน้ำมันที่เชื่อมระหว่างทะเลแดงและเมดิเตอร์เรเนี่ยน คือท่อ SUMED ถ้าหากมีการก่อวินาศกรรม (Sabotage) ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลอียิปต์จึงส่งกองกำลังไปดูแล ดังนั้นถ้าไม่มีผลกระทบดังกล่าว ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะจำกัดวงในทางจิตวิทยาส่งผลต่อราคาน้ำมัน หุ้นและราคาทองคำ อย่างไรก็ตามผลกระทบต่อเศรษฐกิจระยะกลางและระยะยาวต้องพิจารณาหลังจากการ เปลี่ยนแปลงรัฐบาลต่อไป

โดยสรุปเหตุการณ์ในอียิปต์ไม่ส่งผล กระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยแต่อย่างไรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและไทยจะเป็น ไปดังได้วิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้ ราคาหุ้นของไทยในช่วงนี้มีการแกว่งตัวขึ้นลงอยู่ในกรอบขาลงชั่วคราวและมีการ เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในไตรมาศ 2 ส่วนเงินดอลล่าร์และเงินบาทนั้นเงินบาทจะอ่อนตัวอยู่ในกรอบ 31 บาท บวกลบ 20 สตางค์ในช่วงสั้นซึ่งยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวมากขึ้นแต่ในระยะกลางเงินบาท จะแข็งตัวขึ้นในระดับ 30 บาทซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของปีนี้และบางช่วงครึ่งปีหลังอาจแข็งค่าขึ้นเป็น 29 บาท ดังได้วิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนราคายางพาราอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอย่างไรก็ตามเนื่องจากราคาขึ้นมาสูง อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานในอนาคตเดือนมีนาคมหรือไตรมาส 2 จะเกิดการผันผวนปรับตัวลงอย่างรุนแรงชั่วคราวก่อนจะมีแนวโน้มฟื้นตัวกลับมา อีกครั้งในช่วงสั้น








วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ที่ตั้งและเมืองหลวงของประเทศแอฟริกาใต้

ที่ตั้ง
ประเทศแอฟริกาใต้ 
ตั้งอยู่ทางใต้สุดของ ทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดโมซัมบิก และสวาซิแลนด์ ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่รวม 1,221,037 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2.5 เท่าของประเทศไทย มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,954 กิโลเมตร 

 

เมืองหลวง
กรุงพริทอเรีย ( Pretoria) เป็นเมืองหลวงศูนย์กลางการบริหารประเทศแอฟริกาใต้ อยู่ในเขตจังหวัดกาวเต็ง (Gauteng) มีจำนวนประชากรประมาณ 3 ล้านคนเศษ ประเทศแอฟริกาใต้ได้จัดลำดับเมืองหลวงออกเป็นสามเมืองได้แก่ กรุงพริทอเรีย เป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารประเทศ และอีกสองเมืองคือ เคปทาวน์และบลูมฟอนเทน กรุงพริทอเรีย นอกจากจะเป็นเมืองหลวงของประเทศแล้ว ยังเป็นเมืองที่ศูนย์กลางธุรกิจการพาณิชย์เมืองหนึ่งของประเทศแอฟริกาใต้







เมืองสำคัญ 
 นครโจฮันเนสเบิร์ก (Johannesburg) ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางการบิน และอุตสาหกรรม เมืองเคปทาวน์ (Cape Town) เป็นที่ตั้งสภานิติบัญญัติและเมืองท่าฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เมืองโบลมฟอนแตน (Bloemfontein) เป็นที่ตั้งศาลสูง 

ประชากร  
 ประมาณ 44 ล้านคน (มิ.ย.2550) เป็นคนผิวดำร้อยละ 79 ผิวขาวร้อยละ 9.6 ผิวสีผสมร้อยละ 8.9 และคนเชื้อชาติอินเดียนร้อยละ 2.5