วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลก

1.เหตุการณ์ฟาโชดา
เหตุการณ์ฟาโชดา (Fashoda Incident พ.ศ. 2441 - 2442) เป็นกรณีพิพาทระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสเพื่อแข่งขันกันช่วงชิงลุ่มแม่น้ำไนล์ตอนบนและดินแดนในทวีปแอฟริกาเป็นอาณานิคมของตน เหตุการณ์รุนแรงมากจนถึงขั้นวิกฤติเมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองฟาโชดาได้ ก่อนอังกฤษในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2441 แต่ในที่สุด อังกฤษและฝรั่งเศสก็ได้แบ่งปันผลประโยชน์และแก้ไขกรณีพิพาทนี้ได้ด้วยการลง นามในอนุสัญญาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2442

เมืองฟาโชดา

เมืองฟาโชดา (เมืองโคดอกในปัจจุบัน) เป็นเมืองเล็กๆในแคว้นซูดาน ที่อยู่ใต้การปกครองของอียิปต์แต่ในนามในขณะนั้น อังกฤษและฝรั่งเศสได้แข่งขันกันขยายอาณานิคมในทวีปแอฟริกาจนสามารถยึดดินแดนต่างๆไว้ได้ เช่น ทางใต้ อังกฤษยึดได้เคปโคโลนี นาทาล โรดีเชีย และยูกันดา ปัจุบันคือ แอฟริกาใต้ บอตสวานา ซิมบับเว แซมเบีย และส่งทหารเข้ายึดครองอียิปต์ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2425 ส่วนฝรั่งเศสยึดดินแดนทางภาคตะวันตก ปัจจุบันได้แก่เซเนกัล มาลี ไนเจอร์ และขยายอาณาเขตเข้าไปในแอฟริกาตะวันตกที่ต่อมาเรียกว่าเฟรนช์เวสต์แอฟริกา นอกจากนี้ยังยึดได้ส่วนหนึ่งของแคว้นคองโกที่เรียกว่าเฟรนช์คองโก

มูลเหตุ

ทั้งสองประเทศได้พยายามทุกวิถีทางในการที่จะเข้าควบคุมลุ่มแม่น้ำไนล์ตอน บนและหาหนทางเชื่อมโยงอาณานิคมของตนที่กระจัดกระจายให้ติดต่อกัน เป็นผืนเดียว จุดมุ่งหมายที่สำคัญของอังกฤษคือจะต้องสร้างทางรถไฟจากเคปโคโลนีไปจนถึงกรุง ไคโรในอียิปต์ เพื่อเชื่อมโยงแคว้นยูกันดาให้ติดต่อกับอียิปต์ ส่วนฝรั่งเศสก็พยายามขยายตัวจากเซเนกัลผ่านภาคกลางของทวีปแอฟริกาไปจนถึง แคว้นซูดานซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองฟาโชดาและหาทางออกสู่ทะเลแดง นโยบายขยายอำนาจดังกล่าวทำให้กองทัพของทั้งสองประเทศต้องไปเผชิญหน้ากันที่เมืองฟาโชดาในซูดาน
อังกฤษเกรงว่าฝรั่งเศสจะเข้าไปควบคุมแม่น้ำไนล์ตอนบน และทำเขื่อนกั้นแม่น้ำไนล์ซึ่งจะเป็ฯอุปสรรคต่อการชลประทานของอียิปต์ซึ่ง อยู่ใต้การยึดครองของอังกฤษในขณะนั้น กองทัพของอังกฤษและฝรั่งเศสจึงเผชิญหน้ากันที่เมืองฟาโชดา ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมถออนทัพออกจากเมือง ฝรั่งเศสอ้างว่าเป็นฝ่ายมีชัยเพราะยึดเมืองฟาโชดาได้ก่อน

ยุติเหตุการณ์

ระหว่างนั้น ภายในประเทศฝรั่งเศสกำลังเผชิญปัญหาเหตุการณ์เรื่องเดรย์ฟุส ฝรั่งเศสเกรงว่ากรณีพิพาทดังกล่าวจะขยายตัวเป็นสงครามใหญ่ และไม่แน่ใจว่าในกรณีดังกล่าวรัสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรของตนจะให้ความสนับสนุนฝรั่งเศส อนึ่ง ฝรั่งเศสต้องการเอาใจอังกฤษไว้เพื่อให้อังกฤษสนับสนุนฝรั่งเศสในการต่อต้านเยอรมนีซึ่ง เป็นศัตรูของตน ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ฝรั่งเศสจึงถอนทัพออกจากเมืองฟาโชดา ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสก็สามารถแก้ไขกรณีพิพาทดังกล่าวได้โดยสันติ
 
แผนที่ทวีปแอฟริกาแสดงอาณานิคมของอังกฤษ (สีเหลือง) และฝรั่งเศส (สีแดง)

2.การเลือกตั้งทั่วไปของแอฟริกาใต้ ครั้งที่ 3
แอฟริกา ใต้ได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปตามระบอบประชาธิปไตย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2547 ซึ่งการเลือกตั้งเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย มีประชาชนแอฟริกาใต้ ร้อยละ 77 ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดประมาณ 21 ล้านคน ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค ANC ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ได้รับคะแนนเสียงมากกว่า 2 ใน 3 (และมากกว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาทั้ง 2 ครั้ง) โดยได้ที่นั่ง 279 ที่นั่งจากทั้งหมด 400 ที่นั่ง ในขณะที่พรรค Democratic Alliance (DA) พรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุด ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับสอง โดยได้ที่นั่งในรัฐสภาเพียง 50 ที่นั่ง พรรค Inkatha Freedom Party (IFP) ได้ที่นั่งในสภาจำนวน 28 ที่นั่ง พรรคอื่น ๆ ได้รับคะแนนเสียงรวมกันร้อยละ 10.8 นาย Thabo Mbeki ซึ่งได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 10 ปีของระบอบประชาธิปไตยในแอฟริกาใต้ และในโอกาสนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เข้าร่วมพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ และพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของระบอบประชาธิปไตยในแอฟริกาใต้

ในการ บริหารประเทศของพรรค ANC ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา แอฟริกาใต้มีเสถียรภาพทั้งในด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของแอฟริกาใต้มีความแข็งแกร่งและเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ (ประมาณร้อยละ 2-3) ทำให้ประชาชนโดยรวมมีความเชื่อมั่นในพรรครัฐบาล รัฐบาลมีนโยบายเน้นส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะในการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน ขยายและเพิ่มโครงการด้านสาธารณูปโภค ส่งเสริมการลงทุน เพิ่มการจ้างงาน 1 ล้านคน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ลดอัตราว่างงานลงครึ่งหนึ่งในช่วง 10 ปีข้างหน้า ปรับปรุงระบบอนามัย ปราบปรามปัญหาอาชญากรรมและปัญหาการทุจริต รวมถึงการต่อสู้กับปัญหา HIV/AIDS ในด้านนโยบายต่างประเทศนั้น แอฟริกาใต้มีพันธกรณีในการเสริมสร้างสันติภาพ ประชาธิปไตย และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคแอฟริกา

 
            






3.แอฟริกาใต้ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2553 (ค.ศ. 2010)
เมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 สหพันธ์ฟุตบอลโลก (FIFA)ได้ประกาศผลการลงคะแนนเสียงของคณะกรรมการบริหาร FIFA ซึ่งเลือกให้แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 2010 ด้วยคะแนน 14 เสียง จาก 24 เสียง โดยโมร็อกโกได้ 10 เสียง อียิปต์และลิเบียไม่ได้คะแนน ส่วนตูนิเซียขอถอนตัวออกจากการลงสมัคร สำหรับแอฟริกาใต้เคยแพ้เยอรมนีในการคัดเลือกเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกปี ค.ศ. 2006 เพียง 1 เสียง ดังนั้น แอฟริกาใต้จึงคาดหวังในการได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกปี ค.ศ.2010 ค่อนข้างมาก และยังนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศในทวีปแอฟริกาจะเป็นเจ้าภาพ จัดฟุตบอลโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อแอฟริกาใต้ที่กำลังประสบปัญหาการว่างงานสูง โดยคาดว่าการเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 2010 จะช่วยสร้างงานในแอฟริกาใต้ได้ถึง 150,000 ตำแหน่ง ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2549 นาย Trevor Manuel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของแอฟริกาใต้เปิดเผยว่า รัฐบาลแอฟริกาใต้วางโครงการงบประมาณในการสร้างสนามกีฬาใหม่เป็นเงิน 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้งบประมาณในการพัฒนาระบบคมนาคม ทั้งรถไฟ รถ minibus และรถ taxi อีกประมาณ 1,640 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/Emoticon/babysoldier/emotion_118_MSN.gif  
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น